ปฏิทินกิจกรรมของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มันสำปะหลัง



มันสำปะหลัง

(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manihot esculenta (L.) Crantz) เป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญอันดับ 5 รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง [1] ชื่อสามัญเรียกหลายชื่อเช่น Cassava, Yuca, Mandioa, Manioc, Tapioca ชาวไทยเดิมเรียกกันว่า มันสำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียกมันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า "มันหลา") คำว่า "สำปะหลัง" ที่นิยมเรียกอาจมาจากคำว่า "ซำเปอ (Sampou)" ของชวาตะวันตก

มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน (Lowland tropics) มีหลักฐานแสดงว่าปลูกกันในโคลัมเบีย และเวเนซูเอลา มานานกว่า 3,000-7,000 ปีมาแล้ว


ชนิดและสายพันธุ์
มันสัมปะหลังที่ปลูกเชิงเกษตรกรรม มีสองชนิด คือ

ชนิดหวาน มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขมและสามารถใช้ทำอาหารได้โดยตรง เช่น พันธุ์ห้านาที,พันธุ์ระยอง 2
ชนิดขม มีปริมาณกรดโอโดรไซยานิคสูง ต้องนำไปแปรรูปก่อน เช่น พันธุ์ระยอง 1, 3, 5, 60, 90 พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และ พันธุ์ห้วยบง 60
การจำแนกสายพันธุ์ใช้คุณลักษณะหลายอย่างช่วยในการจำแนกเช่น สีของใบอ่อน สีก้านใบ สีลำต้น ขนที่ยอดอ่อน ลักษณะทรงต้น หูใบ

เกษตรกรรม
มันสำปะหลังนำมาปลูกเชิงเกษตรกรรมให้ผลผลิตเฉลี่ย 4 – 5 ตันแต่เมื่อดูแลอย่างดีอาจได้ถึง 12 ต่อไร่ ซึ่งผลผลิตจะถูกนำมาแปรรูป ในรูปแบบ แป้งมันสำปะหลัง และ มันสำปะหลังเส้น เพื่อเป็นวัตถุดิบส่งโรงงานต่อไป

พันธู์มันสำปะหลังแต่ละพันธุ์มีความเหมาะสมเฉพาะพื้นที่ การใช้พันธุ์ที่เหมาะสมสามารถยกระดับผลผลิตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น